Sunday, August 21, 2011

ยืดอายุแบตเตอรี่ ใช้ได้ 3 - 4 ปี ช่วยประหยัดเงิน ไม่เสียอารมณ์ รถสตาร์ดไม่ติด

แบตเตอรี่ รถยนต์ เสื่อมสภาพก่อนเวลาเกิดจากสาเหตุหลัก 6 ข้อคือ                 



1.การเกิดผลึกของเกลือซัลเฟทบนแผ่นธาตุ (เป็นสาเหตุที่เกิดมากสุด)
2. ขาดน้ำกลั่น
3. ความร้อน
4. ขบวนการผลิตที่ผิดพลาด
5. การสึกกร่อนของ grid
6. การสั่นสะเทือน
เทคโนโลยี ของเราไม่สามารถแก้ไขขบวนการผลิตที่ผิดพลาดในหัวข้อที่ 4 ได้ แต่สามารถหยุดหรือลดการเกิดในหัวข้ออื่น ๆ อีก 5 ข้อ ด้านบนอันเป็นสาเหตุให้ แบตเตอรี่ เสื่อมสภาพก่อนเวลาได้โดยใช้ Longa-Batt น้ำยายืดอายุ แบตเตอรี่รถยนต์ Longa-Batt Pad แผ่นรองกันสะเทือนแบตเตอรี่และ Battery Terminal Protector น้ำยาทาขั้วแบตเตอรี่ ด้วยเทคโนโลยีของสินค้าดังกล่าวทั้ง 3 ตัว สามารถยืดอายุของแบตเตอรี่ถึง 400% ของการรับประกันจากโรงงานทำให้ท่านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการต้องจ่ายเงินซื้อ แบตเตอรี่ลูกใหม่ทุก 1-2 ปีลองกาแบตสามารถยืดอายุแบตฯใหม่ของท่านแบตเก่าอายุ 1 ปี สามารถยืดอายุได้ถึง 4-5 ปี แบตฯอายุ 2 ปี สามารถยืดอายุได้ถึง 2-3 ปี แบตฯอายุ 3 ปี สามารถยืดอายุได้ถึง 1-2 ปี ภายใต้เงื่อนไขระบบไฟฟ้าและการชาร์จไฟของรถยนต์ต้องสมบูรณ์ เพราะ Longa-Batt ช่วยควบคุมการเสื่อมสภาพของ แบตเตอรี่ ลดการเกิดเกลือซัลเฟรทและป้องกันการเกิดเกลือซัลเฟรทที่จะไปจับแผ่นธาตุ ลดความร้อนในเซลแบตเตอรี่ หยุดการกัดกร่อนในแผ่นธาตุ
 การเกิดผลึกของเกลือซัลเฟทบนแผ่นธาตุ (เป็นสาเหตุที่เกิดมากสุด)
 ทำอย่างไรแบตฯรถจึงจะอยู่ได้เกิน 3 ปี
เพียงเติม Longa-Batt น้ำยายืดอายุ แบตเตอรี่ ผลิตภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา 1 ขวด ลงใน แบตเตอรี่ รถยนต์ ของท่าน
หาก เป็นแบตเตอรี่ใหม่ จะยืดอายุไปอีก 3-4 ปีขึ้นไป
หาก แบตเตอรี่ ของท่านใช้ไปแล้ว 1 ปี จะยืดอายุไปอีก 2-3 ปีขึ้นไป
หาก แบตเตอรี่ ของท่านใช้ไปแล้ว 2 ปี จะยืดอายุไปอีก 1-2 ปีขึ้นไป
(ภายใต้เงื่อนไขระบบไฟฟ้าและระบบ ชาร์จไฟ ของ รถยนต์ ต้องสมบูรณ์) และ แบตเตอรี่ อยู่ในสภาพใช้งานได้

แบตเตอรี่ทำงานอย่างไร
แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่สะสมและจ่ายไฟฟ้าโดยปฏิกริยาทางเคมีไฟฟ้า มันสะสมพลังงานเคมีและถูกนำไปใช้ในรูปของพลังงานไฟฟ้า เมื่อแบตเตอรี่ถูกต่อวงจรเข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น สตาร์ทเตอร์ พลังงานเคมีถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและกระแสไฟผ่านวงจร
การทำงานของแบตเตอรี่
เมื่อโลหะต่างชนิด 2 ชนิด เช่น แผ่นธาตุบวกและลบ จุ่มอยู่ในสารละลายไฟฟ้า (กรดซัลฟูริคเอซิค) ประกอบกันขึ้นเป็นแบตเตอรี่และให้แรงดันไฟฟ้า ซึ่งแบตเตอรี่รถยนต์โดยทั่วไปมีแรงดันไฟฟ้าต่อเซล 2.1 โวล์ท พลังงานไฟฟ้าเกิดขึ้นโดยปฏิกริยาทางเคมีระหว่างโลหะทั้งสองและสารละลายไฟฟ้าปฏิกริยาดังกล่าวจะเกิดขึ้นและมีกระแสไหลเมื่อมีวงจรต่อระหว่างขั้วบวกและลบ (เช่น ไฟหน้ารถ เมื่อต่อเข้ากับแบตเตอรี่)
การทำงานของแบตเตอรี่รถยนต์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
1. Lead dioxide (PbO2) ลีดไดอ๊อกไซด์บนแผ่นธาตุบวก
2. Sponger lead (Pb) ฟองตะกั่วบนแผ่นธาตุลบ
3. Sulphuric acid (H2SO4) สารละลายไฟฟ้า
จุดประสงค์ของการใช้แบตเตอรี่
ประโยชน์ของแบตเตอรี่รถยนต์มี 3 ประการ
1. จ่ายพลังงานให้สตาร์ทเตอร์และระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน
2. จ่ายพลังงานส่วนเกินให้กับรถยนต์เมื่อการใช้ไฟฟ้าในรถยนต์เกินปริมาณที่ระบบชาร์จไฟในรถยนต์สามารถผลิตได้
3. รักษาระดับโวล์ทเทจของระบบไฟฟ้าในรถยนต์ให้คงที่ ช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้เกิดความเสียหาย
ลองกาแบต แก้ปัญหาของแบตเตอรี่รถยนต์ได้อย่างไร
เพราะ Longa-Batt ช่วยควบคุมการเสื่อมสภาพของ แบตเตอรี่ลดการเกิดเกลือซัลเฟทและป้องกันการเกิดเกลือซัลเฟทที่จะไปจับบนแผ่นธาตุ
ลดความร้อนในเซล แบตเตอรี่
หยุดการกัดกร่อนในแผ่นธาตุ และ ลดการระเหยของน้ำกรด
ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุทำให้แบตเตอรี่อายุการใช้งานสั้น
ภาพการเกิดเกลือซัลเฟทของแบตเตอรี่รถยนต์ ที่ไม่มีลองกาแบต
เกลือซัลเฟทจะแข็งและไปปิดรูพรุนของแผ่นธาตุ ทำให้เซลในแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพ
ภาพของแบตเตอรี่รถยนต์ ที่เติมลองกาแบต
เกลือซัลเฟทจะมีสภาพปกติไม่แข็ง แผ่นธาตุจะสะอาดและเซลรับการชาร์จของไฟ
lead acid batteries แบตเตอรี่รถยนต์ ถูกชาร์จไฟ โดยกรรมวิธีทางเคมี ด้วยกรดซัลฟูริคที่บริสุทธิ์และน้ำกลั่น สารละลายนี้เรียกว่า electrolyte สารละลายไฟฟ้ากลายเป็นโรงผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋วที่มหัศจรรย์ ซึ่งเก็บพลังงานเคมีไว้ในแผ่นธาตุที่บริสุทธิ์ กรดซัลฟูริคซึมเข้าแผ่นธาตุทางรูพรุนเล็ก ๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เกิดฟองเล็ก ๆ เรียกเกลือซัลเฟท (Lead Sulphate) เกาะบนแผ่นธาตุที่เป็นประจุบวกและลบ สาเหตุหลักที่ทำให้ แบตเตอรี่รถยนต์ หมดอายุก่อนกำหนด เกิดขึ้นเมื่อฟองเล็ก ๆ ดังกล่าว (เกลือซัลเฟท) ซึ่งไปจับที่แผ่นธาตุประจุบวกและลบทำให้กรดซัลฟูริคไม่สามารถซึมเข้ารูพรุนได้ ทำให้ปฏิกิริยาทางเคมีที่จะทำให้เกิดการไหลของไฟฟ้าน้อยลง แบตเตอรี่รถยนต์ ก็เสื่อมสภาพลง
ลองกาแบต
สามารถฟื้นฟูสภาพ แบตเตอรี่รถยนต์ ให้กลับมาดังเดิม โดยจะเข้าไปทำลายเกลือซัลเฟทดังกล่าว และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
จากสถิติต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าทำไม แบตเตอรี่รถยนต์ ที่เสื่อมแล้ว สามารถฟื้นฟูสภาพกลับมาใช้งานได้อีกด้วยลองกาแบต 75%ของแบตเตอรี่รถยนต์ที่เสื่อมสภาพและถูกทิ้ง สาเหตุมาจากเกลือซัลเฟทที่พอกพูนจับหนาบนแผ่นธาตุในเซลแบตเตอรี่และที่separators อย่าเพิ่งทิ้งมันไป เพราะว่าสามารถนำมาฟื้นฟูสภาพได้ด้วยลองกาแบต ส่วน 20% ที่เหลือ สาเหตุจากการลัดวงจร แผ่นธาตุแตกงอเสียหาย และอีก 5% เกิดจากระบบไฟชาร์จในรถยนต์, อัลเทอเนเตอร์, เร็กกูเรเตอร์, สตาร์ทเตอร์ ขั้วไฟ หรือระบบการเดินสายไฟ
อย่าปักใจเชื่อว่า อายุแบตเตอรี่สามารถใช้ได้ประมาณ 2 ปี เท่านั้น
ปริมาณ Longa-batt ที่ใช้ในแบตเตอรี่แต่ละขนาด
บรรจุลองกาแบตในขวดขนาด 100 มล. ซึ่งใช้สำหรับเติมแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป จนถึงรถกระบะ โดยที่ขวดจะมีขีดบอกปริมาณ 6 ขีด ๆ ละ ประมาณ 16 มล. เติมใส่แบตเตอรี่ซึ่งมี 6 ช่อง ๆ ละ 1 ขีด กรณีแบตเตอรี่มีระดับน้ำกรดอยู่ที่ขีดสูงสุดพอดี สามารถเติมลงไปได้ เนื่องจากปริมาณที่เติมต่อช่อง 16 มล. มันจะไม่มีผลทำให้ระดับน้ำกรดสูงขึ้น ส่วนกรณีที่ระดับน้ำกรดอยู่ต่ำกว่าขีดสูงสุด หลังเติม น้ำยายืดอายุแบต แล้วให้เติมน้ำกลั่นเพิ่มเข้าไปให้ถึงขีดสูงสุด หมายเหตุ การเติมน้ำกลั่นใส่แบตเตอรี่ ไม่ควรเติมเกินขีดสูงสุด เพราะอาจทำให้น้ำกรดล้นกระฉอกออกมาทำความเสียหายให้ส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ได้
ปริมาณการใช้ น้ำหนักแบตเตอรี่ X 5.6 = ปริมาณที่ใช้ (มล.)
ตัวอย่าง- แบตเตอรี่รถยนต์มาตรฐาน 12 โวลท์ (6 เซล) น.น.เฉลี่ย 16 กก.
ปริมาณที่ใช้ = 16 X 5.6 = 90 มล.(เติมช่องละ 90 / 6 = 15 มล.)
แบตเตอรี่รถปิ๊คอัพ รถยนต์นั่งขนาด 70 แอมป์ลงมา ใช้ 1 ขวด
แบเตอรี่ขนาด 100 แอมป์ ใช้ 1 1/2 ขวด
แบเตอรี่ขนาด 120 แอมป์ ใช้ 2 ขวด
แบเตอรี่ขนาด 150 แอมป์ ใช้ 2 1/2 ขวด
แบเตอรี่ขนาด 200 แอมป์ ใช้ 3 ขวด
แบตเตอรี่รถก๊อลฟ ใช้ 1 1/2 ขวด

ลดค่าใช้จ่ายท่านได้อย่างไร    ปกติอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป 2 ปี ราคาแบตเตอรี่ลูกละ 1,600 บาท(โดยเฉลี่ย) เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับแบตเตอรี่ = 600 บาท ถ้าท่านเติม น้ำยายืดอายุแบต 1 ขวด ราคา 400 บาท ถ้าสามารถยืดอายุไป 1 ปี ท่านจะลดค่าใช้จ่ายไป 800 บาท หรือ ถ้ายืดไปอีก 2 ปี เท่ากับท่านได้กำไรแบตเตอรี่ 1 ลูกคือ 1,600 บาท
ถ้าสมมุติว่า ท่านซื้อแบตเตอรีมาใหม่ ในราคา 1,600 บาท เติมน้ำยายืดอายุแบตอีก 1 ขวด 400 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท แล้วสามารถใชงานไปได้ถึง 4 ปี       เทียบกับการซื้อแบตเตอรีมาใหม่ในราคา 1,600 บาท แบตเตอรีลูกนี้ใช้งานได้นาน 2 ปี แล้วต้องเปลี่ยนใหม่ หากต้องการให้ใช้ได้นานถึง 4 ปี เท่ากับแบบเติมน้ำยายืดอายุแบต  ท่านต้องซื้อแบตเตอรี ถึง 2 ลูกในราคา 1,600บาท x 2 ลูก เป็นเงิน  3,200 บาท
สรุป  จะเห็นว่าใน 4 ปี ท่านเซฟค่าใช้จ่ายไป 1,600 บาท คุ้มไหม ? นี่ยังไม่คิดค่าเสียในการเปลี่ยน หรือ เสียเวลา เวลางานด่วน ๆ แล้วรถสตาร์ดไม่ติดเพราะแบตเตอรีไม่เก็บไฟ หรือ เสียวโดนปล้นเวลาสตาร์ดรถไม่ติดในที่เปลี่ยว อีก คุ้มไหม ?
หากท่านเป็นเจ้าของกิจการหรือองค์กรที่มีรถใช้จำนวนมากทั้งรถตู้ รถบัส รถปิ๊คอัพ รถบรรทุก ลองหลับตานึกถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ท่านจะลดได้ มันไม่ใช่น้อยนะครับ ลองดูตัวเลขที่จะลดได้คร่าว ๆ ดู สมมุติท่านต้องซื้อแบตเตอรี่ 100 ลูกต่อปี ท่านลองคิดถึงจำนวนเงินที่ท่านสามารถประหยัดได้ก็แล้วกัน 100 ลูก ๆ ละ 1,600 x 100 ลูก คิดเป็นเงิน 160,000 ใช้ได้ 2 ปี ต้องเปลี่ยน แต่ถ้าใช้ได้ 4 ปี ท่านประหยัดแล้ว 80,000 บาท OK ?
ผลการทดสอบ ลองก้าแบตโดยห้อง Lab BOTCO LABORATORY U.S.A. ได้ผลสรุปดังนี้
1. Longa-Batt เมื่อใช้ตามคำแนะนำของโรงงานผู้ผลิต ไม่มีผลทำให้เกิดอันตรายต่อ แบตเตอรี่รถยนต์ (Lead acid battery)
2. เซลที่ใส่ Logna-Batt จะมีเกลือซัลเฟทเกาะแผ่นธาตุน้อยกว่าปกติ และมีลักษณะที่อ่อนนุ่มกว่า
3. แผ่น grid จะมีความมั่นคงกว่าใน แบตเตอรี่ ที่ใส่ Longa-Batt
4. ผลทดสอบบ่งชี้ว่า แผ่นธาตุบวกที่ใช้ Longa-Batt จะมีเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มและละเอียดของ lead peroxide สีเป็นน้ำตาลแดงเข้ม แต่เซลที่ไม่ได้ใช้ Longa-Batt จะมีสีที่อ่อนกว่าและแผ่น grid จะเปราะ
5. ภายใต้สภาวะการชาร์จไฟ เซลที่ใส่ Longa-Batt ความถ่วงจำเพาะจะสูงกว่าและเวลาที่ใช้ชาร์จไฟจะน้อยกว่าเซลที่ไม่ได้ใส่ และเมื่อเริ่มคายประจุ การเกิดเกลือซัลเฟทมีไม่มาก
6. ภายใต้สภาวะการชาร์จไฟ(ดูกร๊าฟ 1)และการคายประจุ (ดูกร๊าฟ 2) เซลที่ใส่ลองกาแบตจะร้อนน้อยกว่า ประสิทธิภาพการ ชาร์จไฟ จะสูงกว่า
7. การตรวจสอบภายในเซลที่เกิดเกลือซัลเฟท เมื่อใช้ Longa-Batt จะมีสภาพทางกลดีกว่าที่ไม่ได้ใช้
8. เป็นที่สังเกตุว่าแผ่น separator ใน แบตเตอรี่ ที่ใช้ Longa-Batt ความเสื่อมลงทางกายภาพจะน้อยกว่า แบตเตอรี่ ที่ไม่ได้ใช้
9. ตะกอนภายในของ แบตเตอรี่รถยนต์ ที่ใช้ Longa-Batt จะลดลงขณะ ชาร์จไฟ และไม่ได้ชาร์จไฟ
10. ฟองที่เกิดขณะ ชาร์จไฟ จะมีขนาดเล็กว่าใน แบตเตอรี่ ที่ใช้ลองกาแบต
11. แบตเตอรี่ใหม่และ แบตเตอรี่ ที่เสื่อมสภาพก่อนเวลา เมื่อใช้ลองกาแบต การแปรสภาพของเกลือซัลเฟทจากอ่อนนุ่มเป็นแข็งเปราะบนแผ่นธาตุลบไม่เกิดขึ้น จากผลการทดสอบนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า แบตเตอรี่ ที่ใช้ลองกาแบตจะสามารถใช้งานได้ตลอดอายุที่แท้จริงของมัน
ต้องการดูผลการทดสอบเป็นอังกฤษ Lab Test by BOTCO Laboratory / Longa-Batt (English version)
ภาพของเซลภายในแบตเตอรี่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพแรก เกลือซัลเฟทจับเต็มแน่นบนแผ่นธาตุ ทำให้ตะกั่วบนแผ่นธาตุไม่สามารถทำปฏิกิริยากับ electrolyte
ภาพ2 แผ่นธาตุอายุ 9 เดือน ก่อนใส่ Longa Batt จะเห็นเกลือซัลเฟตเริ่มจับเป็นผลึกบนแผ่นธาตุ
ภาพ3 แผ่นธาตุเดิมหลังใส่ Longa Batt จะเห็นพลังจากLonga Batt ที่กระทำต่อแผ่นธาตุนี้ เกลือซัลเฟตที่จับเป็นผลึกก่อนใส่ Longa Batt พร้อมที่จะทำให้แผ่นธาตุสึกกร่อนทุกเมื่อ หลังเติม Longa Batt เกลือซัลเฟทเปลี่ยนสภาพจากผลึกที่แข็งกลับมาอ่อนนุ่ม มีรูพรุนเหมือนฟองน้ำทำให้ electrolyte สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับตะกั่วได้ดังเดิม แบตเตอรี่ก็กลับมาจ่ายไฟได้ดังเดิมเหมือนใหม่
ภาพ แสดงหลอดไฟสว่างขึ้นหลังเติม น้ำยายืดอายุแบต ลงในหม้อแบตเตอรี่
                         
ภาพแสดงหลอดไฟที่ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ที่มีไฟอ่อนจะเห็นแสงของหลอดไฟใม่ค่อยสว่าง หลังเติม น้ำยายืดอายุแบต ไปประมาณ 30-45 นาที จะสังเกตุเห็นแสงของหลอดไฟสว่างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามมารถวัดความเข้มของแสงได้ด้วยเครื่องวัด
ความเข้มของแสงสว่างจะเพิ่มขึ้น25-50% Longa Batt เพิ่มพลังให้แบตเตอรี่



แบตเตอรี่รถยนต์ ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์


ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์


          แบตเตอรี่รถยนต์ ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น.
 
          แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง(แบตเตอรี่)จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว
         
นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่รถยนต์จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ
    1.เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 
    2.ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย 


 

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

    1.แบบเปียก นิยม ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว 
    2.แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่รถยนต์แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ
 

        ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่นั้น ถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว 
        แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่ 
        ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์ 
 

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ 
        การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือ การประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยทั่วไป มักจะใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้า ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้นเสื่อมสภาพเร็ว ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย  



ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ 
        เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
1. ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือ ประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรี่ด้วย
2. ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
3. ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
4.การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่าควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัยและเป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
5. ไม่ควรทิ้ง
แบตเตอรี่รถยนต์เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
6. ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
7. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
8. ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้
    



อ้างอิงข้อมูลจาก
- บทความของคุณ วรพล สิงห์เขียวพงษ์
- เว็บไซด์ของ 3k แบตเตอรี่,
- เว็บไซด์Yuasa แบตเตอรี่
- เว็บไซด์ Bosch แบตเตอรี่
- Elsa Win
- คุณกริช เกษมรัชดารักษ์

แบตเตอรี่รถยนต์ ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์


ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์


          แบตเตอรี่รถยนต์ ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น.
 
          แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง(แบตเตอรี่)จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และทำงานแล้ว ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว
         
นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่รถยนต์จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ
    1.เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 
    2.ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย 


 

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

    1.แบบเปียก นิยม ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว 
    2.แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่รถยนต์แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ
 

        ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่นั้น ถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว 
        แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่ 
        ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์ 
 

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ 
        การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือ การประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยทั่วไป มักจะใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้า ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้นเสื่อมสภาพเร็ว ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย  



ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ 
        เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
1. ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือ ประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรี่ด้วย
2. ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
3. ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
4.การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่าควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัยและเป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
5. ไม่ควรทิ้ง
แบตเตอรี่รถยนต์เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
6. ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
7. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
8. ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้
    



อ้างอิงข้อมูลจาก
- บทความของคุณ วรพล สิงห์เขียวพงษ์
- เว็บไซด์ของ 3k แบตเตอรี่,
- เว็บไซด์Yuasa แบตเตอรี่
- เว็บไซด์ Bosch แบตเตอรี่
- Elsa Win
- คุณกริช เกษมรัชดารักษ์

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Powerade Coupons